หัวใจที่สูญหายและต้นไม้แห่งการเริ่มต้น
The Beginning Tree
始まりの木
ผู้เขียน นัตสึคาวะ โซสุเกะ
ผู้แปล อิศเรศ ทองปัสโณว์
สำนักพิมพ์ Bibli
จำนวนหน้า 344 หน้า
ราคา 319 บาท
ISBN: 9786168293560
ทดลองอ่าน>>คลิก<<
"เช่นเดียวกับเวลาที่เราจะกระโดดให้สูงและไกล ก็ต้องหาที่เหยียบยันเท้าอันมั่นคง
ดังนั้นการจะเรียนรู้เกี่ยวกับโลก ก่อนอื่นเราต้องรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นที่อยู่ใต้เท้าเราเสียก่อน และคติชนวิทยาก็คือสาขาวิชาเพื่อการนั้น"
ฟูจิซากิ ชิกะ นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโทโต สาขาวิชาเอกคติชนวิทยา ติดตามฟูรูยะ คันจิโร อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์หัวรั้นของเธอ ทั้งสองออกเดินทางไปทั่วญี่ปุ่นเพื่อลงพื้นที่ไปดูรากเหง้าแห่งความเป็นญี่ปุ่น ทั้งต้นไม้ ป่าเขาลำเนาไพร
ทะเล และผืนแผ่นดิน ซึ่งในอดีตคนญี่ปุ่นเคยเคารพสิ่งเหล่านี้ดั่งเทพเจ้า และเพื่อตอบคำถามว่าในปัจจุบันที่คนญี่ปุ่นเริ่มห่างไกล
จากเทพเจ้าซึ่งเคยเคารพนับถือไปทุกที คนเราจะมุ่งหน้าไปทางไหน
ขณะเดียวกันสาขาวิชาคติชนวิทยาก็พบกับวิกฤติอย่างหนัก เมื่อทางสภามหาวิทยามีแผนจะยุบสาขาวิชานี้เพราะมีคนเรียนน้อย
ทั้งฟูรูยะ และชิกะ รวมทั้งคนสาขาวิชาต้องต่อสู้เพื่อให้คติชนวิทยาอยู่ต่อไปให้ได้ ในขณะที่ชิกะก็ยังสับสนว่าเรียนคติชนวิทยา
ไปเพื่ออะไรกันแน่
นี่คือนิยายเล่าถึงความลึกลับและความมหัศจรรย์เล็ก ๆ ของต้นไม้ ผืนป่า ท้องฟ้า และแผ่นดิน ที่ย้ำเตือนเราว่าโลกก้าวไกลแค่ไหน
ก็อย่าลืมหัวใจของความเป็นมนุษย์จากผู้เขียน ปาฏิหาริย์แมวลายส้มผู้พิทักษ์หนังสือ
เกี่ยวกับผู้เขียน
นัตสิคาวะ โซสุเกะ
เกิดที่จังหวัดโอซากะเมื่อปี 1978 จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินชู เข้าทำงานเวชศาสตร์ชุมชนที่จังหวัด
นางาโนะ เปิดตัวในฐานะนักเขียนในปี 2000 ด้วยนิยายเรื่อง Kamisama no Karute (อิจิโตะ คุณหมอหัวใจเทวดา) ซึ่งได้รับ
รางวัล Shogakukan ประเภทพ็อคเก็ตบุ๊ค สาขานวนิยาย ครั้งที่ 10 และ นิยายเรื่องเดียวกันก็ได้รางวัลที่สองของรางวัล
ร้านหนังสือ (Honya Taisho) ประจำปี 2010 และยังได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์อีกด้วย
ผลงานอื่น ๆ ยังมี Kamisama no Karute 2, Kamisama no Karute 3, Kamisama no Karute 0,
Shinsho Kamisama no Karute, Hon wo Mamoro to Suru Neko no Hanashi (ปาฏิหาริย์แมวส้มผู้พิทักษ์หนังสือ),
Wasurenagusa no Saku Machi de Azumi no Shinryouki ฯลฯ
..·.¸¸·´¯·.¸¸...·.¸¸·´¯·.¸¸...·.¸¸·´¯·.¸¸.🌿
บางส่วนจากในเรื่อง
- “วิทยาศาสตร์ช่วยให้เราสร้างรางรถไฟไปยังภูเขาสูงชันของคุรามะ เก่งกาจในการวัดปริมาณเคมีที่ใช้รักษามะเร็ง แต่ไม่สามารถ
นับคำนวณความเศร้า หรือความโดดเดี่ยวในหัวใจเป็นตัวเลขได้ ความคิดที่ว่าเพราะวัดเป็นตัวเลขไม่ได้จึงไม่มีอยู่จริงนั้น เป็น
ความป่วยไข้ที่นักวิชาการส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นกันอยู่ นักวิชาการพวกนี้หลงลืมไปแล้วว่าวิทยาศาสตร์เป็นเพียงแค่เครื่องมือ
สำหรับตีความโลกเท่านั้น และพยายามจะเอาโลกทั้งใบยัดเข้าไปในขอบเขตคับแคบของวิทยาศาสตร์ ความพยายามที่จะ
อธิบายความเศร้า ความโดดเดี่ยว ความปรารถนา หรือความในใจให้เป็นแค่การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั้น แม้จะน่าสนใจใน
แง่ของความท้าทายทางวิทยาศาสตร์ แต่หากจะคิดว่าถ้าฮอร์โมนไม่เปลี่ยน คนเราก็จะไม่เศร้า มันก็ไม่ได้เป็นอะไรนอกจาก
เรื่องจำอวด”
- “ยิ่งเป็นคนที่พยายามจะศึกษาโลกด้วยแล้ว ต้องมองขอบเขตที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ไม่ได้ด้วยสายตาที่ซื่อตรง ต้องรู้ว่า
วิทยาศาสตร์ไม่ได้เก่งครอบจักรวาล และต้องจำใส่ใจว่าแม้แต่คนที่ใช้วิทยาศาสตร์เองก็ยิ่งห่างไกลจากคำว่าเก่งรอบด้าน ถ้า
หากลืมเรื่องนี้เมื่อไหร่ คนเราก็จะสูญสิ้นความถ่อมตน กลายเป็นอหังการขึ้นมาทันที”
- “ถ้าหัดออกจากห้องวิจัยเดินไปตามหมู่บ้านหรือภูเขาด้วยขาของตัวเอง ไม่ช้าก็จะตระหนักได้เอง ว่าโลกนี้ไม่ได้มีขึ้นมาอย่าง
เรียบง่ายตื้นเขิน”
- “คนเราเกิดมาแล้วก็ร่วงโรยไปตามกาลเวลา ในที่สุดก็ต้องตาย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับชีวิตทั้งหลายมาซ้ำแล้วซ้ำเล่านับแต่
อดีตกาลแล้ว ถ้าหลังจากมีชีวิตแล้ว ก็จะมีความตายตามมา หลังจากความตาย ก็ต้องมีชีวิตตามมา โลกนี้มันน่าอัศจรรย์อย่างนี้
แหละ”
- “ถ้าแค่เอาข้อมูลในท้องที่ที่ตัวเองไม่เคยแม้แต่จะไปดูมาเปลี่ยนเป็นค่าตัวเลขเอาเข้าสมการละก็ ปล่อยให้พวกนักสถิติทำกัน
ก็ได้ แม้จะเป็นนักคติชนวิทยาระดับปลายแถว ก็ควรไปเหยียบมาด้วยเท้าตัวเองสิ”