การเปิด Pre-Order กับ ARN คิดส่วนแบ่งรายได้อย่างไร?
1. Pre-Order หนังสือเล่ม ส่วนแบ่ง ARN 35% รวมค่าพิมพ์ / ค่าการตลาด / ดูแลลูกค้า / แพ็คและจัดส่งสินค้า เรียบร้อยแล้ว
2. Pre-Order หนังสือเล่ม ส่งร้านค้า แบ่งเป็น 2 รูปแบบดังนี้
2.1 ให้ทีม ARN ดูแลการขาย โดยให้แจ้งร้านค้าติดต่อสั่งซื้อที่ Line @arnbook เพื่อทำรายการส่วนลดร้านค้า โดยการสั่งซื้อขั้นต่ำ 10 เล่มขึ้นไปต่อ 1 ปก
2.2 หากนักเขียนต้องการดูแลการขายกับร้านค้าเอง จะต้องทำการสั่งพิมพ์หนังสือกับโรงพิมพ์แยกจากการ Pre-Order ในระบบ โดยชำระค่าพิมพ์โดยตรงกับทางโรงพิมพ์ และ ติดต่อกับร้านค้าด้วยตนเองทั้งหมด
3. การคิดส่วนแบ่ง จะเป็นหลังหักค่าธรรมเนียมชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ยกตัวอย่าง
หนังสือราคา 100 บาท หักค่าธรรมเนียมชำระเงิน 4% เหลือ 96 บาท
เงินที่เหลือ คิดเป็น 100% นำมาคิดส่วนแบ่ง จาก 96 บาท อ่านบุ๊ค 35%( 34 บาท) / นักเขียน 65% (62 บาท)
.
————
เมื่อมาเปิด Pre-Order หนังสือที่ ARN หนังสือที่ส่งให้นักอ่านจะมีหน้าตาเป็นยังไงนะ ?
.
ขนาดของหนังสือ : ขนาด A5 หรือ 14.5 x 21 เซนติเมตร (อย่าลืมเพิ่มตัดตก + 3 มิลลิเมตร รอบด้านด้วยนะ!)
ปกหนังสือ : กระดาษอาร์ตการ์ด 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เลือกได้ว่าจะเคลือบมัน หรือเคลือบด้าน
เนื้อในของหนังสือ : กระดาษ Green Read 75 แกรม สีขาว-ดำ
ไสกาว
ซีลพลาสติก
แถมที่คั่นหนังสือ 1 ชิ้น
.
————
‘ ที่คั่นหนังสือ ’ และ ‘ โปสต์การ์ด ’ ของแถมยอดฮิตที่มักแนบไปกับรูปเล่ม ต้องส่งไฟล์ขนาดเท่าไหร่มายังโรงพิมพ์ เพื่อให้ได้ของแถมที่สมบูรณ์สวยงาม ตามมาดูกัน !
.
ที่คั่นหนังสือ : ขนาด 40 x 150 มิลลิเมตร
โปสต์การ์ด : ขนาด 4 x 6 นิ้ว
(อย่าลืมเพิ่มตัดตก + 3 มิลลิเมตร รอบด้านด้วยนะ!)
.
————
เพราะอะไรก่อนส่งไฟล์ภาพมายังโรงพิมพ์ ควรตั้งค่าสีไฟล์เป็นแบบ ‘CMYK’
.
ระบบสีมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน นั่นคือ RGB ที่ใช้ในงานดิจิตอล และระบบสี CMYK ใช้ในงานสิ่งพิมพ์
ดังนั้นก่อนส่งไฟล์ภาพมาที่โรงพิมพ์จึงต้องตั้งค่าให้เป็นสีแบบ CMYK ก่อน
วิธีตั้งค่าให้เป็น CMYK Mode แบบเข้าใจง่าย ๆ
การทำไฟล์ภาพงานส่วนมากนักเขียนจะมีใช้กันอยู่ 2 โปรแกรมหลัก ๆ ที่ใช้กันคือ Photoshop (.Psd ) และ Illustrator (.Ai)
1. วิธีการตั้งค่าด้วยโปรแกรม Photoshop ตั้งค่าตั้งแต่ตอนสร้างไฟล์งานใหม่ : เข้าไปที่ File > New > Color Mode > เลือก CMYK
2. วิธีการตั้งค่าด้วยโปรแกรม Illustrator ตั้งค่าตั้งแต่ตอนสร้างไฟล์งานใหม่ : เข้าไปที่ File > New > หัวข้อ Advanced > ตรง Color Mode > เลือก CMYK
3. วิธีการตั้งค่าตอน Export งาน : เข้าไปที่ File > Export > เลือกนามสกุลของไฟล์ > หัวข้อ Image > ตรง Color Mode > เลือก CMYK
.
หมายเหตุ : ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่ใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น พิมพ์หนังสือ นิตยสาร โปสเตอร์ แผ่นพับ กล่อง บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ โดย Cyan (ฟ้า), Magenta (แดงอมม่วง), Yellow (เหลือง) และ Key (สีดำ ไม่ได้ใช้ B Black) หากเมื่อใดที่เราต้องการสร้างไฟล์งานสิ่งพิมพ์ เพื่อส่งโรงพิมพ์ เราต้องมั่นใจว่าไฟล์งานของเรา เป็นไฟล์งานที่ใช้งาน Mode CMYK ซึ่งโปรแกรมที่นักออกแบบงานนิยมใช้กันมาก คือ Adobe Photoshop Adobe Illustrator หรือ Adobe InDesign
.
————
เพราะอะไรจึงควร ‘ ตัดตก ’ ไฟล์เนื้อหานิยาย ก่อนส่งโรงพิมพ์ ?
.
การตัดตก คือ การกำหนดให้ภาพพื้นหลังของผลงานมีขนาดใหญ่กว่าความเป็นจริงเล็กน้อย เพราะไม่มีงานพิมพ์ใดที่เมื่อพิมพ์ออกมาแล้ว จะมีขนาดพอดีกับกระดาษที่พิมพ์ได้ 100% ดังนั้นไฟล์เนื้อหานิยายเอง ก็ควรมีการเผื่อตัดตกไว้เช่นกันครับ
.
หากนึกภาพไม่ออก สามารถดูได้จากรูปตัวอย่างครับ
•ตัดตก +3 mm. (หากไม่มีอาจจะโดนเนื้อใน)
•ระยะขอบนอก (เป็นบริเวณขอบของหนังสือ)
•ระยะขอบใน (เป็นบริเวณที่ชิดกับสัน จึงควรเผื่อเนื้อที่มากกว่าขอบนอก)
•บริเวณไสกาว
.
โดยเนื้อหาด้านในไฟล์หนังสือ ควรมี หน้าซ้าย หน้าขวา และตัดตก
ไฟล์หนังสือที่สามารถตีพิมพ์ออกมาได้สวยงามปลอดภัยที่สุด จึงเป็นไฟล์ PDF ที่มีตัดตกมาเลยครับ
.
————
ไฟล์ปกนิยายควรแยกเลเยอร์มาด้วย เพราะอะไร ? และมีชั้นเลเยอร์อะไรบ้างนะ ?
.
ควรแยกเลเยอร์ เพราะถ้าหากไฟล์ปกที่ทำมามีขนาดไม่พอดี หรือต้องการแก้ไข จะสามารถแก้ไขได้ง่ายกว่า
เช่น ถ้านักเขียนต้องการเพิ่มหน้ากระดาษ ขนาดของสันหนังสืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลง หากไฟล์ภาพถูกรวมมาเป็นรูปเดียวจะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ อาจจะต้องแก้ไขไฟล์ภาพปกใหม่ทั้งหมด แต่ถ้าหากมีเลเยอร์สันแยกมา ก็สามารถปรับขนาดได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และไม่ต้องทำไฟล์ภาพปกใหม่
.
และหากนักเขียนต้องการพิมพ์เทคนิคพิเศษลงบนปกหนังสือ เช่น ทำ Spot UV, ปั๊มฟอยล์, หรือ ปั๊มนูน จำเป็นต้องมีเลเยอร์สำหรับการทำเทคนิคพิเศษพวกนี้แยกออกมาด้วย เพื่อที่จะนำชั้นเลเยอร์เหล่านี้ไปตีพิมพ์ปกที่มีเทคนิคพิเศษตามต้องการนั่นเอง
โดยตัวอย่างเลเยอร์ในไฟล์ปกหนังสือ มีดังนี้ครับ (อาจจะมีมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้เช่นกัน)
.
• ของตกแต่งบนปก
• สันปก (ควรมี เพื่อให้ตำแหน่งของสันหนังสือมีความยืดหยุ่นตามความหนาของหนังสือ และสามารถขยับได้ก่อนการตีพิมพ์)
• บริเวณที่ต้องการใช้เทคนิค ปั๊มนูน
• บริเวณที่ต้องการใช้เทคนิค Spot UV
• Typo ชื่อเรื่อง
• เรื่องย่อ คำโปรยปกหลัง
• คาแรคเตอร์ตัวละครบนปก
• พื้นหลัง
.
หมายเหตุ : บริเวณที่ต้องการใช้เทคนิค ปั๊มนูน และ Spot UV ควรถมพื้นดำในบริเวณที่ต้องการจะทำเทคนิคพิเศษ หากอยากทำบริเวณ TYPO ชื่อเรื่อง ควรแยกเลเยอร์ออกมาแล้วถมดำไฟล์ก่อน
————
ไฟล์ปกหนังสือควรเซฟเป็นไฟล์สกุลอะไร และเพราะอะไร ?
.
ไฟล์ปกหนังสือควรส่งโรงพิมพ์เป็นไฟล์ psd. หรือ ai. แบบที่มีการแยกเลเยอร์ไฟล์มาด้วย เพื่อให้เอื้อต่อการตีพิมพ์เทคนิคพิเศษต่าง ๆ หรือการนำ Elements จากภาพปกไปใช้เพื่อโปรโมทหนังสือของคุณนักเขียนนั่นเอง
.
ไฟล์ปกนี้ควรทำการเปลี่ยน Font ในภาพเป็น Objects มาด้วย เพื่อให้เปิดบนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นแล้วยังแสดงผลครบถ้วน วิธีทำสามารถดูได้จากหน้าเว็บไซต์นี้เลยครับ https://bit.ly/3SsfjBh
.
————
การตั้งราคาหนังสือเพื่อเปิด Pre-Order กับ ARN ควรตั้งราคาอย่างไร ?
.
เมื่อมาเปิด Pre-Order กับ ARN นักเขียนสามารถแจ้งสเปกหนังสือที่เตรียมมาให้กับเซลของโรงพิมพ์พาร์ทเนอร์ เพื่อช่วยคิดราคาได้ครับ
ซึ่งโดยปกติแล้ว ราคาหนังสือจะต้องไม่ต่ำกว่า จำนวนหน้า คูณด้วย 0.8 บาท และอาจจะมากขึ้น หากนักเขียนต้องเพิ่มสเปกต่าง ๆ ลงในหนังสือครับ
.
————
การจัดทำเล่มตัวอย่าง เมื่อเปิด Pre-Order หนังสือกับ ARN มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?
.
หลังจากนักเขียนได้รับการยืนยันว่า ไฟล์หนังสือพร้อมสำหรับการเปิด Pre-Order กับ ARN Application แล้ว นักเขียนสามารถเลือกการปรู๊พหนังสือตัวอย่างได้ดังนี้
1. ปรู๊พเฉพาะปก (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
2. บรู๊ฟเล่มตัวอย่าง (เสียค่าใช้จ่าย 600 บาท หรือหากมียอด Pre-Order มากกว่า 50 เล่มขึ้นไป จะไม่เสียค่าใช้จ่าย)
.
โดยเล่มตัวอย่างจะใช้เวลาจัดทำประมาณ 5 - 7 วันทำการ หลังจากที่นักเขียนคอนเฟิร์มเพื่อจัดทำเล่มตัวอย่างแล้วครับ
.
*หมายเหตุ : กระดาษปกของเล่มตัวอย่างจะเป็นแบบมัน หากบรู๊ฟเฉพาะปก นักเขียนจะได้เป็นกระดาษแผ่นใหญ่ที่ปรินต์ ปก / ที่คั่น / โปสต์การ์ด เพื่อตรวจสอบขนาดและสี และกระดาษแบบดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นแบบมันทำให้มีสีสันสดใส ส่วนในเล่มจริงที่ส่งถึงมือนักอ่านจะมีการเคลือบกระดาษเพิ่มเติม สีสันของภาพปกจึงอาจจะดรอปลงจากเล่มตัวอย่างเล็กน้อย
.
————
หลังจากศึกษาขั้นตอนกันเสร็จแล้ว หากคุณนักเขียนต้องการเปิด Pre-Order หนังสือเล่มกับ ARN สามารถทำตามได้ที่ขั้นตอนในวิดีโอนี้ครับ https://youtu.be/C8LYrvq0zjk
อยากมีหนังสือสักเล่มเป็นของตัวเอง มาเปิด Pre-Order กับ ARN สิครับ แล้วจะเป็นเรื่องง่าย!
.
หากมีข้อสงสัย คำแนะนำเพิ่มเติม ติดต่อทีมงาน ARN
Facebook Page : https://www.facebook.com/arnbookapp
E-mail : contact@arnbook.com
LINE OA สำหรับนักเขียน : @ARNWriter
LINE OA สำหรับนักอ่าน : @arnbook
เวลาทำการ 09.00 - 18.00 น. วันจันทร์ถึงศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์